ผลเสียต่อสุขภาพจากการอดนอน

by admin
37 views

การอดนอน มีผลเสียต่อสุขภาพคุณอย่างไรบ้าง

ความพิการทางร่างกายหรือสติปัญญาอาจส่งผลต่อการนอนหลับในแต่ละคนและแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกันจึงเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ว่าสภาวะต่างๆอาจส่งผลต่อการนอนหลับอย่างไร คนที่มีความบกพร่องทางร่างกายมักจะมีปัญหาในการนอนหลับมากกว่าคนปกติทั่วไปซึ่งหากเรานอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพออาจส่งผลต่อร่างกายและจิตใจของเราได้ การอดนอน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหากคุณนอนหลับไม่เพียงพอ

การอดนอนจะเกิดขึ้นหากคุณมีข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

  • นอนหลับไม่เพียงพอหรือเรียกว่าการอดนอน
  • นอนผิดเวลาจากวันปกติซึ่งจะส่งผลต่อการนอนหลับ
  • นอนหลับไม่สนิทหรือนอนหลับไม่ครบตามที่ร่างกายต้องการ
  • มีความผิดปกติของการนอนที่ทำให้คุณไม่สามารถนอนหลับได้เพียงพอหรือทำให้การนอนหลับมีคุณภาพต่ำ

การนอนเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เช่นเดียวกับการกินการดื่มและการหายใจการนอนหลับมีความสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีตลอดชีวิตของมนุษย์จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคผู้ใหญ่ประมาณ 1 ใน 3 ในสหรัฐอเมริกาพบการรายงานว่าพักผ่อนหรือนอนหลับไม่เพียงพอในทุกวันผู้ใหญ่เกือบ 40% พบว่าผล็อยหลับระหว่างวันโดยไม่รู้สึกตัวอย่างน้อยเดือนละครั้งนอกจากนี้ชาวอเมริกันประมาณ 50 ถึง 70 ล้านคนมีความผิดปกติของการนอนหลับเรื้อรังหรือต่อเนื่อง

การอดนอนการอดนอนอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร่างกายและจิตใจ

  • อาจรวมถึงการบาดเจ็บการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานและ โอกาสเสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เข้าใจถึงผลจากการนอนหลับที่ไม่เพียงพอเราจะมาดูกันว่าอะไรทำให้คุณนอนหลับและหากคุณนอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลต่อสุขภาพของคุณอย่างไร
  • การอดนอนอาจรบกวนการทำงานการเรียนการขับรถและการเข้าสังคมคุณอาจมีปัญหาในการเรียนรู้การโฟกัสและการตอบสนองนอกจากนี้คุณอาจพบว่าเป็นการยากที่จะตัดสินอารมณ์และปฏิกิริยาของผู้อื่นการอดนอนอาจทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิดหรือมีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น
  • อาการของการอดนอนอาจแตกต่างกันไปในเด็กและผู้ใหญ่เด็กที่นอนหลับไม่เพียงพออาจมีความกระตือรือร้นมากเกินไปและมีปัญหาในการให้ความสนใจหรือส่งผลต่อสมาธิพวกเขาอาจประพฤติตัวไม่เหมาะสมและผลการเรียนอาจตกต่ำได้การอดนอนเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพเรื้อรังหลายอย่างเช่นโรคหัวใจโรคไตความดันโลหิตสูงเบาหวานโรคหลอดเลือดสมองโรคอ้วนและภาวะซึมเศร้า
  • การอดนอนยังเชื่อมโยงกับโอกาสการบาดเจ็บที่สูงขึ้นในผู้ใหญ่วัยรุ่นและเด็กตัวอย่างเช่นอาการง่วงนอนขณะขับรถที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถชนอย่างรุนแรงในผู้สูงอายุและการอดนอนอาจเชื่อมโยงกับโอกาสที่จะหกล้มและกระดูกหักเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
  • การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการนอนหลับที่มีคุณภาพเพียงพอในเวลาที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อสุขภาพจิตสุขภาพกายคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยเรามาดูกันว่าเราต้องนอนหลับมากแค่ไหนจึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละช่วงวัย

ช่วงอายุที่เหมาะสมในการนอนหลับ

ช่วงอายุที่เหมาะสมในการนอนหลับ

เป้าหมายในการนอนหลับตามคำแนะนำของ National Sleep Foundation แบ่งตามช่วงอายุได้ดังนี้

  • ผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไป ต้องการนอนหลับ 7 ถึง 8 ชั่วโมง
  • ผู้ใหญ่อายุ 26 ถึง 64 ปี ต้องการนอนหลับ 7 ถึง 9 ชั่วโมง
  • คนหนุ่มสาวอายุ 18 ถึง 25 ปี ต้องการนอนหลับ 7 ถึง 9 ชั่วโมง
  • วัยรุ่นอายุ 14 ถึง 17 ปี ต้องกานนอนหลับ 8 ถึง 10 ชั่วโมง
  • เด็กวัยเรียนอายุ 6 ถึง 13 ปี ต้องการนอนหลับ 9 ถึง 11 ชั่วโมง
  • เด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3 ถึง 5 ปี ต้องการนอน 10 ถึง 13 ชั่วโมง
  • เด็กวัยหัดเดินอายุ 1 ถึง 2 ปี ต้องการนอนหลับ 11 ถึง 14 ชั่วโมง
  • ทารกอายุ 4 ถึง 11 เดือน ต้องการนอนหลับ 12 ถึง 15 ชั่วโมง
  • ทารกแรกเกิด 0 ถึง 3 เดือน ต้องการนอนหลับ 14 ถึง 17 ชั่วโมง

นอกจากนี้แพทย์ยังพบหลักฐานว่าปัจจัยทางพันธุกรรมพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมยังเป็นตัวกำหนดว่าคุณต้องการการนอนหลับมากแค่ไหนเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดและประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตในแต่ละวัน

สรุป

การนอนหลับเป็นความต้องการพื้นฐานที่ร่างกายต้องการเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพยังช่วยให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยังส่งผลต่อสุขภาพของร่างกายและจิตใจอีกด้วย

Related Posts

เราเข้าใจดีว่าการท่องไปในโลกแห่งข้อมูลด้านสุขภาพที่กว้างใหญ่ มักจะเกิดสับสนเป็นเรื่องที่ยากเกินความสามารถของคนทั่วไป ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงพยายามนำเสนอเนื้อหาข้อมูลของเราในลักษณะที่ชัดเจน กระชับ และเข้าใจง่าย

ทีมงานของเราประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล และ บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ที่มีความรู้และประสบการณ์มากมายในสาขาของตน นอกจากนี้เรายังมีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญที่เราให้คำปรึกษาเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลบนเว็บไซต์ของเรานั้นน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้

Copyright @2023  All Right Reserved – Designed and Developed by ipreventhealth