การทำเหมืองแร่ โคบอลต์ แมงกานีส ทองแดง และแร่อื่นๆ ที่เป็นส่วนสำคัญของแบตเตอรี่นั้นจะหมดลงจากการทำเหมืองบนบก แร่เหล่านี้ยังคงนอนหลับใหลอยู่ที่ก้นทะเลในปริมาณมหาศาล แม้ว่าการดึงแร่เหล่านี้มาใช้จะเป็นการกระทำที่มีความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นทะเล บริษัทสตาร์ตอัพแห่งหนึ่ง ในสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์ทำเหมืองใต้ทะเลที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากในระดับที่พลิกโฉมหน้าการทำเหมือง
ยูเรก้า วัน (Eureka 1) คือ หุ่นยนต์ทำเหมืองใต้ทะเลที่สร้างโดย บริษัท อิมพอสสิเบิล เมทัลส์ (Impossible Metals) ซึ่งเป็นบริษัทเชิงเทคโนโลยีชีวภาพที่มีบ้านเกิดอยู่ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ยูเรก้า วัน (Eureka 1) มีขนาดใกล้เคียงกับตู้เย็น และใช้มอเตอร์เพื่อการขับเคลื่อนและระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อประมวลผลข้อมูล
หุ่นยนต์ ยูเรก้า วัน (Eureka 1)
หุ่นยนต์นี้ได้ผ่านการทดสอบในการดำน้ำลึกเพื่อขุดเหมืองจำลองที่ลึกถึง 25 เมตรแล้ว แต่มีความสามารถในการทำเหมืองได้ลึกถึง 5 กิโลเมตร บริษัท อิมพอสสิเบิล เมทัลส์ (Impossible Metals) ได้วางแผนให้ยูเรก้า วัน (Eureka 1) เริ่มใช้งานได้ในปี2026
การลงทุนในเทคโนโลยีนี้อาจดูยากทั้งในทางเทคนิคและเทคโนโลยี แต่มีโอกาสที่สูงในการนำเสนอผลตอบแทนที่มีความคุ้มค่า โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงมูลค่าของแร่ที่อาจพบใต้ทะเลที่มีราคาสูงอย่างนิกเกิล โคบอลต์ แมงกานีส และทองแดง ซึ่งอาจมีมูลค่านับพันล้านเหรียญสหรัฐหรือหลักแสนล้านบาท และสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืนในอนาคตได้
แหล่งที่มา : https://news.trueid.net/detail/p193Xd0LqkRE